การแบ่งประเภทของแบตเตอรี่นั้นหลักๆแล้วจะถูกแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แบตเตอรี่ปปฐมภูมิ และ แบตเตอรี่ทุติยภูมิ ดังนี้
1. แบตเตอรี่ปปฐมภูมิ จัดเป็นแบตเตอรี่ที่เมื่อผ่านการใช้แล้ว จะไม่สามารถนำกลับมาชาร์จประจุไฟเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือที่รู้จักกันดีคือ ถ่าน ซึ่งก็มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น
- ถ่านคาร์บอนเคลือบสังกะสี (Carbon-zinc cells) หรือ ถ่านไฟฉายทั่วๆ เช่น ไฟฉาย วิทยุ ของเล่น และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นทั่วไป
- ถ่านเฮฟวี่ดิวตี้/ ซูเปอร์เฮฟวี่ดิวตี้ (Heavy duty/ Super heavy duty/ Zinc Chloride) เช่น เครื่องเล่นเทป เครื่องอัดเสียง นาฬิกาแขวน เครื่องคิดเลข รีโมทคอนโทรล
- ถ่านแอลคาไลน์ (Alkaline/ Alkaline Zinc-Manganese dioxide) เช่น ไฟฉาย แฟลช เครื่องโกนหนวด กล้องถ่ายรูปดิจิทัล (สมัยเก่า)
- แบตเตอรี่ลิเทียม (Lithium/ Lithium-Manganese dioxide) เช่น นาฬิกาข้อมือ กล้องถ่ายรูป
2. แบตเตอรี่ทุติยภูมิ เป็นแบตเตอรี่ที่เมื่อผ่านการใช้แล้วสามารถนำกลับมาชาร์จประจุเพื่อกลับมาใช้ใหม่ได้ เนื่องจากสารเคมีที่ใช้ทำแบตเตอรี่ชนิดนี้สามารถทำให้กลับไปอยู่ในสภาพเดิมได้ โดยผ่านอุปกรณ์ที่ใช้อัดไฟนี้เรียกว่า ชาร์เจอร์ หรือ รีชาร์เจอร์ แบตเตอรี่ชนิดนี้มีทั้งในรูปแบบของ เซลล์เปียก และ เซลล์แห้ง เช่น แบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่มือถือ และถ่านรุ่นใหม่ๆ เป็นต้น ปัจจุบันนิยมใช้งานทั้งแบตเตอรี่แบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น
- แบตเตอรี่กรดตะกั่ว (lead acid) เช่น สตาร์ตเครื่องยนต์ในรถยนต์ รถไฟ และยานยนต์อื่นๆ เครื่องสำรองไฟฟ้า
- ถ่านชาร์จแอลคาไลน์ (alkaline rechargeable/Rechargeable Alkaline Manganese (RAM)) เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังต่ำ รีโมทคอนโทรล ไฟฉาย วิทยุสื่อสาร
- แบตเตอรี่เหล็กนิกเกิล (Nickel – Iron) เช่น เครื่องสำรองไฟฟ้าขนาดปานกลางและขนาดใหญ่ เครื่องขุดเจาะ