ในปัจจุบัน LED กระบวนการทำงานของหลอดไฟ LED ได้ถูกพัฒนาจนมีความเข้มของแสงสูงมาก และสามารถให้แสงสีขาวได้ จนสามารถนํามาใช้แทนหลอดไฟส่องสว่างที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน
LED ย่อมาจาก L-Light แสง, E-Emitting เปล่งประกาย, D-Diode ไดโอด
โดยหลักการทำงานของหลอดไฟ LED จะคล้ายๆ การทำงานของไดโอด**
ไดโอด คือ สารกึ่งตัวนำประเภทหนึ่ง ที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทางเดียว ไดโอด นั้นมีใช้อยู่ทั่วไปในวงจรอิเลคทรอนิกส์ และวงจรไฟฟ้าไดโอดทั่วไป
หลักการทำงานของหลอดไฟ LED ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงจ่ายไฟบวกกระแสตรงเข้าที่ขา อาร์โนด (Anode) หรือขาที่ยาวกว่า และต่อไฟลบเข้ากับขา แคโธด (Cathode) หรือขาสั้น จะทำให้เกิดแรงดันตกคร่อมตัว LED ที่เรียกว่า Vf หรือ Farword Voltage เมื่อมีแรงดันตกคร่อม Vf ที่ว่านี้ ด้วยคุณสมบัติของสารกึ่งตัวนำภายใน LED ก็จะเปล่งแสงออกมา แต่เพื่อจำกัดไม่ให้กระแสไหลผ่าน LED มากจนเกินไป ก็จำเป็นต้องต่อ ตัวต้านทาน หรือ R หรือ Resistor อนุกรมเข้าไปในวงจร ดังรูปข้างล่าง
แสงจากหลอดไฟ LED มีอัตราการกระพริบที่สูงมาก (แทบจะไม่มีการกระพริบ) จึงออกมาเป็นธรรมชาติ สบายตา ถนอมสายตา เหมาะสำหรับงานแสงสว่างทั่วไป รวมถึงไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เนื่องจากไม่มีสารพิษ และปรอทที่เป็นอันตรายบรรจุอยู่ภายในหลอด และความไวต่ออุณหภูมิ ประสิทธิภาพ LED ส่วนใหญ่จึงขึ้นอยู่กับอุณหภูมิแวดล้อมของสภาพแวดล้อมการทำงานหรือการเร่งอุณภูมิของแอลอีดีจะทำให้ลดอายุการใช้งานได้ หรืออาจะทำให้เกิดความเสียหายได้ จึงจำเป็นต้องติดตั้ง Heat Sink ที่เหมาะกับการใช้งานควบคู่ไปด้วย