วิธีการเลือกเซอร์กิตเบรกเกอร์เพื่อการใช้งานที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยต้องพิจารณาถึง 2 ปัจจัยด้วยกันคือ จำนวน Pole และค่าพิกัดกระแส
Pole เป็นตัวที่กำหนดความเร็วรอบและแรงบิดของมอเตอร์ เมื่อจำนวนของ Pole ยิ่งมากเท่าไหร่ แรงบิดจะยิ่งมากและความเร็วรอบจะยิ่งต่ำ ซึ่งหมายความว่า หากจำนวน Pole ยิ่งน้อยเท่าไหร่ แรงบิดจะยิ่งต่ำ และความเร็วรอบจะยิ่งสูงเท่านั้น
- 4 Pole
เซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบไฟฟ้า 3 เฟส เพื่อป้องกันสาย Line และ สาย Neutral เหมาะสำหรับระบบที่ต้องการความ Safety เนื่องจากหากเกิดความผิดปกติของระบบไฟฟ้านั้น เบรกเกอร์จะสามารถป้องกันได้ทั้ง 4 เส้น
- 3 Pole
เซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบไฟฟ้า 3 เฟส เพื่อป้องกันแค่สาย Line จะนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารพาณิชย์
- 2 Pole
เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส เพื่อป้องกันสาย Line และ สาย Neutral นิยมใช้เป็น เมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ ในตู้คอนซูมเมอร์
- 1 Pole
เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส เพื่อป้องกันเพียงสาย Line นิยมใช้ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย จะใช้ในเบรกเกอร์ลูกย่อย และใช้ร่วมกับตู้คอนซูมเมอร์ยูนิท
ค่าพิกัดกระแส จะเป็นค่าพิกัดเป็นตัวบ่งบอกถึงความสามารถ ขีดจำกัด ในการใช้งานของเซอร์กิตเบรกเกอร์ ซึ่งค่าพิกัดที่ควรทราบได้แก่
- Interrupting Capacitive (IC):
พิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดโดยปลอดภัยของเบรกเกอร์นั้นๆ มักแสดงในหน่วย kA (ค่ากระแสที่สามารถทนของเบรกเกอร์ เมื่อมีการทำงานที่ผิดพลาดและทนได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ เช่นค่า 4kA หมายถึง ทนได้ 4000 แอมป์ ก่อนที่เบรกเกอร์จะทริป)
- Amp Trip (AT):
ขนาดกระแสที่ใช้งานเป็นตัวบอกให้รู้ว่าเบรกเกอร์ตัวนั้นสามารถทนต่อกระแสในภาวะปกติได้สูงสุดเท่าไหร่
- Amp Frame (AF):
พิกัดกระแสโครง คือขนาดการทนกระแสของเปลือกหุ้ม เป็นพิกัดการทนกระแสสูงสุดของเบรกเกอร์นั้นๆ เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มีขนาด AF เดียวกันจะมีขนาดมิติ (กว้างXยาวXสูง) เท่ากัน สามารถเปลี่ยนพิกัด Amp Trip ได้โดยที่ขนาด (มิติ) ของเบรกเกอร์ยังคงเท่าเดิม