สำหรับหน้าที่ของ ตู้ MDB จะควบคุมการรับไฟฟ้า และการจ่ายไฟฟ้า ที่มาจากหม้อแปลง หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่น แถมยังสามารถช่วยป้องกันอันตรายที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวอาคารได้อีกด้วย ยกตัวอย่างก็คือ ไฟฟ้าตก,กระแสไฟฟ้ารั่ว,ไฟฟ้าลัดวงจร,แรงดันไฟฟ้าเกิดขนาด
ส่วนอุปกรณ์ที่อยู่ในตู้ MDB ก็มีดังนี้
-โครงสร้างตู้สวิตช์บอร์ด สิ่งนี้จะขาดไปไม่ได้ เพราะว่าเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยยึดอุปกรณ์ในตู้ ไม่ให้เกิดความเสียหาย และป้องกันไม่ให้คนมาจับตรงที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน วัสดุโลหะที่ใช้ต้องมีคุณภาพดี แข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อม
-บัสบาร์ คือโลหะที่นำไฟฟ้า ส่วนมากจะทำจากทองเหลือง ทองแดง และอลูมิเนียม การเลือกใช้ ควรเลือกที่มีความต้านทานต่ำ ซึ่งที่นิยมใช้จะเป็นแบบ Flat ที่มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้า
-เซอร์กิต เบรกเกอร์ เอาไว้ใช้รักษาความปลอดภัย ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นในระบบ ตัวเบรกเกอร์ก็จะทำการตัดไฟฟ้าทันที ซึ่งการใช้งาน ก็ต้องเลือกให้เหมาะสมและดูโครงสร้างต่างๆให้ดี
-เครื่องวัดไฟฟ้า จะอยู่ในตู้ MDB ทุกเครื่อง เพราะว่าเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน ที่เห็นทั่วไปก็คือ โวลต์มิเตอร์ และ แอมมิเตอร์ แต่ถ้าเกิดตู้มีขนาดใหญ่ อาจจะเปลี่ยนไปเป็น วัตต์มิเตอร์,เพาเวอร์แฟคเตอร์ มิเตอร์ หรือวาร์มิเตอร์
นอกจากนี้การใช้งานตู้ MDB จำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์อื่นด้วย เพราะจะได้ช่วยอำนวยความสะดวก รวมถึงความปลอดภัย อุปกรณ์นั้นก็คือ CT หรือ Current Transformer เอาไว้ใช้ต่อกับแอมป์มิเตอร์เพื่อวัดค่าพิกัดกระแสไฟฟ้า, Pilot Lamp คือหลอดไฟบอกสถานะการทำงานของตู้MDB, Selector Switct ใช้วัดแรงดันไฟฟ้าร่วมกับแอมป์มิเตอร์และโวลต์มิเตอร์ และ Fuse คือหลอดแก้วที่ช่วยป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ตัดกระแสไฟฟ้า