วิธีดูมิเตอร์ไฟฟ้า

บิลค่าไฟ

            สำหรับการดู มิเตอร์ไฟฟ้าว่ากี่แอมป์ ก็สามารถดูได้ไม่ยากเลย โดยดูได้จากบิลค่าไฟฟ้า ที่เราจะต้องนำไปจ่ายเพื่อเป็นการชำระเงินค่าไฟ โดยในบิลนั้นจะมีอยู่หนึ่งช่อง เขียนเอาไว้ว่า รหัสเครื่องวัด  โดยหลังจากที่เราดู รหัสเครื่องวัด ในบิลค่าไฟ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็นำรหัสที่ได้ไปดู มิเตอร์ไฟฟ้าของแต่ละบ้านเรือน ซึ่งตรงนี้จำเป็นที่จะต้องดูตัวเลขบนมิเตอร์ไฟฟ้า  ที่จะอยู่ด้านบนสุดเลย และบางที อาจจะมีตัวเลขบอกไว้ชัดมากๆ นั่นก็คือ รหัส PEA จะเหมือนกับ บิลค่าไฟของเรา  หลังจากนั้น ก็ดูเลข 5,15 และ 30 หน่วยจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ A  ส่วนมากจะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ทุกมิเตอร์ ซึ่งถ้าเขียนไว้ว่า 5(15)A    ก็คือ มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ ,15(45)A ก็คือ มิเตอร์ไฟฟ้า 15 แอมป์ หรือ 30(100)A ก็คือมิเตอร์ไฟฟ้า 30 แอมป์ ส่วนตัวเลขในวงเล็บ หมายความว่า  ค่าแอมป์สูงสุดของมิเตอร์ไฟฟ้าแต่ละตัว ส่วนอีกวิธีก็คือ ให้ผู้ใช้ ลองดูตัวเลขตรงที่เขียนว่า ประเภท ในบิลค่าไฟ เพราะว่า จะแยกมาเป็นประเภทให้เรียบร้อยแล้ว นั่นก็คือ 1114,1115 และ 1125 คือบ้านเรือนที่ใช้ไฟฟ้าตามปกติทั่วไป และ 2125 ก็คือโรงงาน,บริษัท หรือผู้ที่ประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่   ที่มีโอกาสใช้ไฟเกินว่า 5 แอมป์  แต่สำหรับหลายบ้านเรือน มักจะใช้มิเตอร์ไฟฟ้าอยู่ที่ 5 แอมป์ เท่านั้น เพราะว่าไม่มากเกินไป หรือจาจจะมีปัจจัยอื่น ยกตัวอย่างเช่น ต้องการประหยัดค่าไฟฟ้า, จำนวนสมาชิกในบ้านน้อย จึงไม่จำเป็นจะต้อง ใช้ไฟฟ้ามาก,ไม่ค่อยอยู่บ้าน ต้องออกไปค้างคืนที่อื่นบ่อย,อยากใช้ไฟฟ้าในเวลาที่ต้องการเท่านั้น

เนื้อหาเพิ่มเติม>>

มิเตอร์ไฟฟ้า 1 เฟส

กิโลวัตต์ฮาวมิเตอร์ (Kilowatt-hour Meter) หรือ วัตต์ฮาวมิเตอร์ (Watt – hour Meter) ที่รู้จักในนาม “มิเตอร์ไฟฟ้า”  เป็นเครื่องมือวัดที่ทำงานด้วยการเหนี่ยวนำไฟฟ้าถูกสร้างขึ้นมาเพื่อวัด ปริมาณกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ ทั้งในบ้านเรือนและในโรงงานอุตสาหกรรมโดยมีหน่วยวัดพลังงานไฟฟ้า เป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง (Kilowatt-hour) การติดตั้งเครื่องมือวัดชนิดนี้จะติดตั้งบริเวณพื้นที่ของการไฟฟ้า คือบริเวณภายนอกบ้านหรือบริเวณภายนอกอาคาร โดยจะแบ่งตามระบบไฟฟ้า 2 ประเภทคือ Single phase watt-hour meter (วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส) และ Three phase watt-hour meter (วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟส)

มิเตอร์ไฟฟ้า

โดยมิเตอร์ไฟฟ้า 1  เฟสจะมีส่วนประกอบและหลักการทำงานที่เหมือนกับ วัตต์มิเตอร์ชนิดที่ทำงานด้วยการเหนี่ยวนำไฟฟ้า คือ ขดลวดกระแสไฟฟ้า (Current coil) และขดลวดแรงดันไฟฟ้า (Potential coil) แต่จะแตกต่างกันในส่วนของ วัตต์มิเตอร์จะแสดงค่าด้วยการบ่ายเบนของเข็มชี้ซึ่งใช้ชี้ค่าบนสเกล ส่วนวัตต์ฮาวร์มิเตอร์จะแสดงค่าโดยใช้ แม่เหล็กเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไหลวนทำให้จานหมุนและใช้ชุดเฟืองไปขับ ชุดตัวเลขหรือชุดเข็มชี้ให้แสดงค่าออกมาบนหน้าปัทม์

โครงสร้างจะประกอบไปด้วยขดลวดกระแสต่อกับอนุกรมกับโหลด และขดลวดแรงดันจะต่อขนานกับโหลด โดยขดลวดทั้งสองชุดจะพันอยู่บนแกนเหล็กที่มีการออกแบบสำหรับมิเตอร์โดยเฉพาะ และจะมีจานอะลูมิเนียมลักษณะบางๆยึดติดกับแกนหมุนวางอยู่ในช่องว่างระหว่างแกนลวดทั้งสอง

ภายในมิเตอร์ไฟฟ้า

ขั้นตอนการใช้บริการ

แอดไลน์ > แจ้งปัญหา > รอราคา > ตกลงราคา > รับบริการ

ขั้นตอนการให้บริการ
ไลน์ OA

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ผู้เขียน : นาถชนก สารโภค

ช่างไฟดอทคอม

ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

วิธีดูมิเตอร์ไฟฟ้าว่ากี่แอมป์ในใบเสร็จ, มิเตอร์ไฟฟ้า