ทำความรู้จัก “มิเตอร์ไฟฟ้า 1 เฟส”

กิโลวัตต์ฮาวมิเตอร์ (Kilowatt-hour Meter) หรือ วัตต์ฮาวมิเตอร์ (Watt – hour Meter) ที่รู้จักในนาม “มิเตอร์ไฟฟ้า”  เป็นเครื่องมือวัดที่ทำงานด้วยการเหนี่ยวนำไฟฟ้าถูกสร้างขึ้นมาเพื่อวัด ปริมาณกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ ทั้งในบ้านเรือนและในโรงงานอุตสาหกรรมโดยมีหน่วยวัดพลังงานไฟฟ้า เป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง (Kilowatt-hour) การติดตั้งเครื่องมือวัดชนิดนี้จะติดตั้งบริเวณพื้นที่ของการไฟฟ้า คือบริเวณภายนอกบ้านหรือบริเวณภายนอกอาคาร โดยจะแบ่งตามระบบไฟฟ้า 2 ประเภทคือ Single phase watt-hour meter (วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส) และ Three phase watt-hour meter (วัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 3 เฟส)

โดยมิเตอร์ไฟฟ้า 1  เฟสจะมีส่วนประกอบและหลักการทำงานที่เหมือนกับ วัตต์มิเตอร์ชนิดที่ทำงานด้วยการเหนี่ยวนำไฟฟ้า คือ ขดลวดกระแสไฟฟ้า (Current coil) และขดลวดแรงดันไฟฟ้า (Potential coil) แต่จะแตกต่างกันในส่วนของ วัตต์มิเตอร์จะแสดงค่าด้วยการบ่ายเบนของเข็มชี้ซึ่งใช้ชี้ค่าบนสเกล ส่วนวัตต์ฮาวร์มิเตอร์จะแสดงค่าโดยใช้ แม่เหล็กเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไหลวนทำให้จานหมุนและใช้ชุดเฟืองไปขับ ชุดตัวเลขหรือชุดเข็มชี้ให้แสดงค่าออกมาบนหน้าปัทม์

โครงสร้างจะประกอบไปด้วยขดลวดกระแสต่อกับอนุกรมกับโหลด และขดลวดแรงดันจะต่อขนานกับโหลด โดยขดลวดทั้งสองชุดจะพันอยู่บนแกนเหล็กที่มีการออกแบบสำหรับมิเตอร์โดยเฉพาะ และจะมีจานอะลูมิเนียมลักษณะบางๆยึดติดกับแกนหมุนวางอยู่ในช่องว่างระหว่างแกนลวดทั้งสอง

ผู้เขียน : นาถชนก สารโภค

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *