เข้าใจการต่อแผงโซล่าเซลล์ง่ายๆ

ในปัจจุบันการพัฒนาของการใช้พลังงานจากธรรมชาติได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กระแสการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์  หรือโซล่าเซลล์นั้นได้รับความนิยมอย่างสูง ทั้งในอุตสาหกรรมครัวเรือน และเพื่อการเกษตร ซึ่งเป็นการลดค่าไฟ ลดการเกิดมลภาวะแก่โลก โดยพลังงานไฟฟ้าจากธรรมชาตินี้ จะเป็นพลังงานไฟฟ้าแบบกระแสตรง DC ที่มีขั้วบวก + ขั้วลบ –

โดยอุปกรณ์ที่สำคัญที่ต้องใช้ในการติดตั้งโซล่าเซลล์อย่างหนึ่งคือ แผงโซล่าเซลล์ (Solar cell panel) ซึ่งทำหน้าที่รับแสงจากดวงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ได้เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงนั่นเอง การต่อแผงโซล่าเซลล์มี 2 แบบด้วยกันคือ การต่อแบบอนุกรมและการต่อแบบขนาน

1.) การต่อแบบอนุกรม เป็นการนำขั้วบวกของโซล่าเซลล์แผงหนึ่งมาต่อกับขั้วลบอีกแผงหนึ่งไปเรื่อยๆ ซึ่งการต่อแบบอนุกรมนี้จะเป็นการเพิ่มแรงดันไฟฟ้า แต่กระแสในระบบนั้นยังคงเท่าเดิม 

โดยสามารถหาแรงดันและกำลังไปได้จาก  แรงดันรวม = จำนวนแผง x แรงดันไฟของแผง

ตัวอย่างจากในภาพ 

= 4 x 24V = 96 V

กระแสรวม  = 6 A

กำลังไฟรวม = แรงดันรวม x กระแสรวม

= 96V x 6A = 576 W

2.) การต่อแบบขนาน เป็นการต่อแบบเพิ่มกระแสไฟฟ้า โดยนำขั้วบวกของโซล่าเซลล์แผงหนึ่งไปต่อกับขั้วบวกของโซล่าเซลล์อีกแผงหนึ่ง และนำขั้วลบแผงหนึ่งไปต่อกับขั้วลบอีกแผงหนึ่ง เพื่อเพิ่มกระแสไฟฟ้าแต่แรงดันเท่าเดิม

โดยหากระแสและกำลังไปได้คือแรงดันรวม = 24 V กระแสรวม = จำนวนแผง x กระแสของแผง

ตัวอย่างจากในภาพ  

 = 4 x 6 A = 24 A

กำลังไฟรวม = แรงดันรวม x กระแสรวม

= 24V x 24A = 576 W

การต่อแผงโซล่าเซลล์แบบอนุกรมต้องระวังในเรื่องของเงา ไม่ควรให้มีเงาตกกระทบเพราะจำทำให้บดบังแสงที่จะส่องไปยังตัวแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานนั้นลดลงหรือไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ตัวช่วยที่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้ทำได้โดยการต่อบายพาสไดโอดขนานกับแผง

นอกจากนี้ การต่อแผงโซล่าเซลล์ในระบบเข้าด้วยกัน จะต้องเลือกแผงโซล่าเซลล์และอุปกรณ์โดยรวมให้มีขนาดเหมาะสม  ต้องดูว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ต้องการกระแสหรือแรงดันตัวไหนมากกว่ากันในการทำงาน หากเลือกผิดจะส่งผลให้อุปกรณ์ในระบบเกิดความเสียหายและไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้หรือผลิตได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

ผู้เขียน : นาถชนก สารโภค

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *