อุปกรณ์การต่อเต้ารับและลักษณะของเต้ารับและเต้าเสียบที่ดี

อุปกรณ์การต่อเต้ารับ

สิ่งหนึ่งที่เราต้องเตรียมให้พร้อมในการต่อเต้ารับก็คืออุปกรณ์ในการต่อเต้ารับนั้นเอง โดยมีอุปกรณ์ที่เราต้องเตรียมดังต่อไปนี้

  1. สายไฟ
    ประเภทสายดิน
  2. สายไฟ
    ประเภทสายไลน์
  3. สายไฟ ประเภทสายนิวทรัล
  4. ฝาครอบ
  5. กล่องพลาสติก
  6. นอตยึด
  7. ไขควง
  8. เต้าเสียบของเครื่องใช้ไฟฟ้า 

ลักษณะของเต้ารับและเต้าเสียบที่ดี

คุณภาพของเต้ารับที่เราจะนำมาต่อเต้ารับคือสิ่งที่ควรตระหนัก เพราะหากเลือกไม่ดีอาจใช้ได้ไม่นาน และเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้ เรามาดูกันครับว่าลักษณะของเต้ารับที่ดีมีอะไรบ้าง

  1. ทำด้วยโลหะที่ไม่ก่อให้เกิดสนิมง่าย
  2. มีพื้นที่ผิวสัมผัสมากจะนำกระแสไฟฟ้าได้ดี
  3. ฉนวนที่นำมาหุ้มทั้งเต้ารับและเต้าเสียบต้องไม่กรอบ
    และแตกง่าย
  4. ขนาดเหมาะสมกับปริมาณไฟฟ้าที่ไหลผ่าน
  5. อุปกรณ์ต้องมีมาตรฐานการรับรอง

ประเภทของเต้ารับมีกี่แบบ

นอกจากวิธีต่อเต้ารับ อุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อเต้ารับ และลักษณะของเต้ารับที่ดีแล้ว เราควรรู้จักประเภทของเต้ารับด้วยนะครับ ตอนต่อเต้ารับด้วยตนเองจะได้ทำได้ง่าย และไม่ผิดพลาด โดยเต้ารับซึ่งใช้ควบคู่กับเต้าเสียบ โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด 

  1. เต้ารับ
    และเต้าเสียบชนิด 2 ขา คือ อุปกรณ์ที่ติดมากับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ใช้สำหรับรับเต้าเสียบ 2
    ขา โดยแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท 
  2. เต้ารับแบบแบน เป็นแบบที่มีรูกลมอยู่ตรงกลาง
    เพื่อยึดเข้ากับปุ่มของเต้ารับได้อย่างพอดี กันการหลวม หรือการสั่นคลอน 
  3. เต้ารับแบบกลม มีทั้งแบบที่มีฉนวน
    และไม่มีฉนวนหุ้ม ซึ่งควรใช้แบบมีฉนวน
    เพราะสามารถป้องกันอันตรายได้ดีกว่าแบบไม่มีฉนวนหุ้ม
  4. เต้ารับ
    และเต้าเสียบชนิด 3 ขา คือ เต้าเสียบที่มีขาโลหะอยู่ 3 ขา
    ต้องใช้กับเต้ารับที่มีช่องรับอยู่ 3 ช่อง
    โดยช่องที่เพิ่มมาอีกหนึ่งช่อง คือ ช่องที่เป็นตำแหน่งต่อลงสายดิน
    เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานมีความปลอดภัย หากเกิดกรณีกระแสไฟฟ้ารั่ว 

ทั้ง 2 ชนิดแตกต่างกันที่จำนวนช่องที่เพิ่มเข้ามา นั่นก็คือ ตำแหน่งสายดิน ซึ่งถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ใช้งาน ทั้งเรื่องความปลอดภัย และการมีส่วนช่วยป้องกันไฟฟ้าให้ไหลลงสู่ดิน ไม่ให้เกิดไฟฟ้ารั่ว หรือลัดวงจร

ปลั๊กตู่สามขา กราวด์

เต้าเสียบชนิด 3 ขา

ปลั๊กคู่ สองขา

เต้าเสียบชนิด 2 ขา 

ติดตั้งปลั๊ก

วิธีต่อเต้ารับ หรือปลั๊กตัวเมีย คือ การต่ออุปกรณ์ส่วนที่ติดอยู่กับวงจรไฟฟ้าอย่างถาวร ตามกำแพง ฝาผนัง โต๊ะ พื้น หรือส่วนอื่น ๆ ในยุคแห่งพลังงานไฟฟ้า เต้ารับเป็นส่วนประกอบสำคัญของทุกเคหสถาน โดยมีหน้าที่เชื่อมกระแสไฟฟ้าไว้รองรับการเสียบปลั๊กจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ให้สามารถใช้งานได้ ดังนั้นมาดูกันว่าวิธีการต่อเต้ารับแบบง่าย ๆ ต้องทำอย่างไร

วิธีต่อเต้ารับด้วยตนเอง

วิธีการต่อเต้ารับเข้าอุปกรณ์ด้วยตนเอง สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียง 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. การประกอบชุด

ขั้นแรกให้ทำการประกอบเต้ารับเข้ากับส่วนฝาครอบ โดยนำเต้ารับสอดเข้าไปในช่องว่างของส่วนฝาครอบที่เป็นฐาน แล้วกดให้เต้ารับติดกับร่องส่วนฝาครอบ หากประกอบถูกต้องเต้ารับจะยึดกับฝาครอบแน่นและดึงหลุดออกยาก และให้เรานำเต้ารับที่ประกอบเสร็จนำไปติดตั้งในกล่องที่อยู่ภายในช่องผนัง

2. การเข้าสายไฟ

ขั้นตอนถัดมา คือ ต่อสายไฟเข้ากับเต้ารับ โดยจะมีสายไฟทั้งหมด 3 เส้น ได้แก่ สายดิน (G หรือสีเขียว) สายไลน์ (L หรือสีน้ำตาล) และสายนิวทรัล (N หรือสีฟ้า)

แนวการต่อปลั๊ก

ก่อนที่นำสายไฟไปต่อเข้าเต้ารับ ให้ปอกเปลือกสายไฟออกประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตร แล้วให้นำสายไฟเสียบเข้ากับช่อง G, L และ N ตามสัญลักษณ์ หรือตำแหน่งที่ระบุไว้ของส่วนเต้ารับ โดยให้ใช้มือกดที่พลาสติกด้านข้างจะทำให้สายไฟถูกยึดไว้หนาแน่นทันที
หลังจากติดตั้งครบทั้ง 3 สาย ให้ดึงสายไฟที่ต่อกับเต้ารับ เพื่อเป็นการทดสอบว่าสายไฟจะไม่หลุดจากช่องเสียบ จากนั้นให้นำฝาครอบมาปิดและใช้ไขควงขันน็อต เพื่อช่วยยึดให้แน่น

3. ทำการตรวจสอบ

ขั้นตอนสุดท้าย เราควรตรวจสอบให้มั่นใจก่อนที่ใช้งานจริงว่า เต้าและรับสายต่อเข้ากันแน่น ไม่หลวม ตามด้วยตรวจสอบด้วยว่าปิดฝาครอบ และการขันสกรูหรือน็อตให้แน่นเรียบร้อย หากตรวจสอบครบเรียบร้อยทุกจุดแล้วจึงสับสวิตช์ และสามารถเสียบปลั๊กใช้งานได้ทันที

ขั้นตอนการใช้บริการ

แอดไลน์ > แจ้งปัญหา > รอราคา > ตกลงราคา > รับบริการ

ขั้นตอนการให้บริการ
ไลน์ OA

HOTLINE-061-417-5732

https://www.facebook.com/changfidotcom

Line: @changfi

ผู้เขียน : อัศม์พลม์ แสนคำภูเขตต์

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

ปลั๊กไฟ, เต้ารับ, เต้าเสียบ, ติดตั้งปลั๊ก