ไฟฟ้าพลังงานน้ำ

คือการที่เอาพลังงานของน้ำที่ไหลมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังจากการไหลของน้ำนั้นถูกมนุษย์นำมาใช้มานานหลายยุค โดยได้มีการสร้างกังหันน้ำ (water wheel) เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ในยุคโรมัน เช่นสีข้าวโม่แป้งจาเมล็ดพืชต่าง และในจีนก็ใช้ในการวิดน้ำเพื่อชลประทาน ซึ่งในตอนนั้นกำลังเฟื่องฟูในการเอาพลังน้ำมาประยุกต์สิ่งต่างๆ จนทำให้เกิดการพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน 

ประโยชน์พลังงานน้ำ

 1. พลังงานน้ำเป็นพลังงานที่หมุนเวียนใช้งานได้ไม่หมดสิ้น และเป็นพลังงานสะอาด ที่เป็นที่นิยมเป็นพลังงานที่พึ่งพาอาศัยกัน

2. เครื่องกลพลังงานน้ำสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและสามารถควบคุมพลังงานได้ มีประสิทธิภาพสูงและเครื่องกลมีความคงทนและมีอายุการใช้งานนานกว่าเครื่องจักรกลอย่างอื่น

3. เป็นพลังงานใช้แล้วไม่ส่งผลเสียต่อธรรมชาติและมีคุณภาพเหมือนเดิมส่งให้ใช้งานอย่างอื่นได้อีก เช่น เพื่อการชลประทาน หรือ การรักษาระดับแม่น้ำให้ไหลลึกพอแก่การเดินเรือ

4. การสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ เอาไว้ใช้ในฤดูการที่แห้งแล้ง เพื่อชลประทาน และได้ประโยชน์มากมายแถมยังรักษาระบบนิเวศ

พลังงานจากน้ำแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้

  • 1.โรงไฟฟ้าพลังน้ำจากอ่างเก็บน้ำ (Conventional)

         โรงไฟฟ้าที่เป็นที่นิยมทั่วไปมาก หลักการทำงานคือ นำน้ำที่เก็บไว้มาใช้โดยการปล่อยน้ำเมื่อต้องการผลิตไฟฟ้า  โรงไฟฟ้าประเภทนี้ในประเทศไทยมีหลายแห่ง เช่น เขื่อนภูมิพล จ.ตาก เขื่อนสิริกิต์ จ.อุตรดิตถ์ เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี

เขื่อนภูมิพล จ.ตาก

รูปจาก  https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2517:art20180511-01&catid=49&Itemid=251

  • 2.โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบน้ำไหลผ่านตลอดปี (Run-of-the-river)

        ประเภทนี้ไม่ได้ทำการเก็บน้ำไว้ต้นน้ำ แต่ให้การปล่อยน้ำไหลเป็นธรรมชาติผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเมื่อน้ำไหลผ่านก็ผลิตไฟฟ้าได้ทันที ข้อเสียคือการเก็บพลังงานไว้ได้ไม่มากนัก

เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี

รูปจาก  https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2517:art20180511-01&catid=49&Itemid=251

  • 3.โรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ (Pumped-Storage)

        การผลิตไฟฟ้าประเภทนี้เปรียบได้เหมือนกับแบตเตอรี่พลังงานน้ำ อ่างเก็บน้ำประเภทนี้สามรถสูบน้ำกลับไปเก็บในอ่างน้ำได้เพื่อหมุนเวียนของน้ำได้ ทำให้น้ำไหลลงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ในไทยมีเขื่อนแบบนี้เช่น โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา เชื่อภูมิพล เครื่องที่8 และเขื่อนศรีนครินทร์ เครื่อง 4-5

อ่างเก็บน้ำบนของโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา

รูปจาก  https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2517:art20180511-01&catid=49&Itemid=251

       การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้านั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความต้องการ ประโยชน์ พื้นที่ที่มีความเหมาะสม ภูมิประเทศ และการชลประทาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *