ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูง

      ไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญต่อมนุษย์ เราคุ้นเคยในการใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน ในการดำเนินชีวิตต่างๆแทบตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้เรามองข้ามความสำคัญของเรื่องความปลอดภัยออกไป วันนี้เราเลยจะพาไปดูความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูงกันครับ เพื่อให้ปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า

      ไฟฟ้าแรงสูงคืออะไร

      ไฟฟ้าแรงสูงคือ ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงเกิน 1,000 โวลต์ ทำให้ส่งไฟฟ้าไปได้ที่มีระยะทางไกล และลดการสูญเสียพลังไฟฟ้าต่ำ ปัจจุบันในการส่งไฟฟ้าจึงนิยมส่งด้วยไฟฟ้าแรงสูงทั้งสิ้น และในปัจจุบันจะจ่ายแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 12,000 – 11,500 โวลต์ เป็นส่วนมาก และบางที่มีการจ่ายสูงถึง 230,000 โวลต์ ในพื้นที่ห่างไกลอยู่บ้าง และการเรียกหน่วยไฟฟ้าแรงสูงของพันโวลต์นั้น เรียกว่า เควี หรือ กิโลโวลต์ เช่น 10,000 โวลต์ จะเรียกว่า 10 เควี หรือ 10 กิโลโวลต์ เป็นต้น

รูปจาก https://sites.google.com/site/iviciivz/chxng-thangkar-sng-fifa?tmpl

      อันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง

      ไฟฟ้าแรงสูงนั่นมีความอันตรายมาก กระแสไฟฟ้าสามารถกระโดดเข้าหาวัตถุได้ โดยที่ไม่ต้องสัมผัส หรือสิ่งที่มีชีวิตเข้าใกล้สามารถส่งผลให้อันตรายได้ ยิ่งไฟฟ้ามีแรงดันสูงก็ยิ่งกระโดดไฟฟ้าไปได้ไกล โดยทั่วไปแล้วไฟฟ้าแรงสูงแตกต่างกับไฟฟ้าแรงดันต่ำที่ใช้ทั่วไปกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประมาณ 220v

      สายไฟฟ้าแรงดันสูงเป็นแบบไหนจะรู้ได้อย่างไร

      ไฟฟ้าแรงสูงกระแสไฟสามารถกระโดดไปได้ไกล ยิ่งสูงยิ่งไกล เพราะฉะนั้นต้องมีการป้องกันที่แน่นหนาและปลอดภัยสูง เช่น เสาไฟฟ้าที่สูง หรือใหญ่ และมีการหุ้มฉนวนที่พอเหมาะกับไฟแรงสูง ฉนวนไฟฟ้าใช้กันส่วนใหญ่ ทำด้วยกระเบื้องเคลือบที่เป็นชั้นๆมีรูปร่างเหมือนชาม หรือที่เรียกกันว่า ลูกถ้วย ทำให้เราสามารถสังเกตได้ว่าเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงหรือไม่ ดูจากการยึดสายไฟฟ้าด้วยลูกถ้วยเป็นชั้น ซึ่งจำนวนชั้นของลูกถ้วยจะบ่งบอกถึงระดับแรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้าแรงดันสูง

รูปจาก http://www.metrelthailand.com/index.php/knowledge/232-2017-02-02-06-45-33

   ข้อควรระวังในการทำงานใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง

  1. ห้ามนำบันไดนั่งร้านหรือโครงสร้างใกล้กับไฟฟ้าแรงสูงที่ไม่มีฉนวนห่อหุ้ม
  2. เมื่อฝนตกหรือฝนฟ้าคะนองควรหยุดทำงานใกล้กับไปฟ้าแรงสูง
  3. ห้ามฉีดน้ำหรือน้ำยาหล่อเย็นของแอร์ เมื่อทำงานใกล้กับสายไฟฟ้าแรงสูง เพราะน้ำยาหล่อเย็นจะกัดฉนวนสายไฟทำให้กระแสไฟรั่วไหล
  4. ห้ามพาดบันได ขึงเชือก หรือทำกิจกรรมว่าว ใกล้สายไฟแรงสูง
  5. ไม่ควรจับสลึงที่ขึงเสาไฟหรือโยกจะทำให้สายไฟพาดเกี่ยวและทำให้ไฟรั่วไหล
  6. ห้ามเข้าใกล้หรือยืนอวัยวะใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงเกินกว่าที่กำหนด
  7. ไม่ควนติดตั้งเสาอากาศหรือเสาสัญญาณใกล้กับสายไฟแรงสูง อาจเกิดอันตรายจากการที่สายไฟพาดเกี่ยวได้
  8. หากเสาอากาศล้มลงมาแตะสายไฟฟ้าแรงสูง นอกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าจะชำรุดแล้ว ทำให้เกิดอันตรายต่อคนในบ้าน
  9. ผู้เป็นเจ้าของป้ายชื่อสถานที่ประกอบการที่ติดตั้งตามอาคาร และผู้ดำเนินการติดตั้งป้ายโฆษณาขนาดใหญ่บนดาดฟ้าอาคารหรือริมถนนใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ต้องหมั่นดูแลตรวจสอบความแข็งแรงของฐานและโครงเหล็กที่ใช้ติดตั้งป้ายโฆษณา
  10. การสร้างบ้านหรือปลูกต้นไม่ควรห่างจากระยะสายไฟแรงสูงตามที่กำหนด
  11. การใช้เครื่องกลต่างๆในการก่อสร้างควรทำงานห่างจากระยะที่กำหนด
  12. ห้ามให้กิ่งไม้หรือต้นไม้พาดเกี่ยวกับสายไฟ เพราะจะทำให้เกิดอันตรายจากการที่เข้าใกล้ต้นไม้ได้
  13. เมื่อเกิดไฟไหม้สายไฟควรเลือกสารเคมีในการดับไฟที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการลุกลาม
  14. ควรติดตั้งป้ายสัญลักษณ์ต่างบอกเกี่ยวกับสายไฟแรงสูง

เมื่อเกิดสายไฟฟ้าแรงสูงขาดควรทำอย่างไร

          1. ไม่ควรยืนใกล้เสาไฟฟ้าที่มีการชำรุดหรือขาด และออกห่างเมื่อเกิดฝนฟ้าคะนอง

          2. เมื่อพบการชำรุดหรือขาดของสายไฟ ควรแจ้งเตือนคนในบริเวณนั้นไม่ให้เข้าใกล้และทำการแจ้งการไฟฟ้าโดยด่วน

          3. ถ้าสายไฟฟ้าแรงสูงขาดและพาดอยู่กับรถยนต์ที่ขับ หรือจอดอยู่ ควรปฏิบัติดังนี้

              – อย่าลงรถถ้ามีสายไฟพาดอยู่ ควรตรวจสอบว่าไม่มีสายไฟฟ้าแรงสูงพาดอยู่กับรถ หรือมีสายไฟฟ้าพาดอยู่กับพื้นดินที่เปียกอยู่

              – ขับรถออกจากพื้นที่ตรงนั้นโดยด่วน

          4. หากได้ยินเสียงคล้ายผึ่งบริเวณสายไฟควรรีบแจ้งการไฟฟ้า

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *