ทำไมไฟฟ้าในยุโรปกับบ้านเราบางแห่งมีแรงดันไฟฟ้าไม่เหมือนกัน เช่นเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศไทยไปใช้ที่อเมริกาไม่ได้ต้องทำการเปลงกระแสไฟก่อน ประเทศไทยเรา และประเทศในโลกเลือกใช้ไฟฟ้าที่ประมาณ 200v (โวลต์) แต่ประเทศไทยใช้ 220v แต่อเมริกากับญี่ปุ่นและบางประเทศใช้แรงดันไฟฟ้าที่ 100v โดยประมาณ รวมถึงความถี่ 50Hz กับ 60Hz ด้วยที่ไม่เหมือนกัน
ในศตวรรษที่ 90 การผลิตไฟฟ้าและการวางระบบส่งจ่าย-จำหน่ายนั้น ได้ทำการคิดค้นมาจากบุคคลสำคัญ 2 คน คือ โทมัส เอดิสัน (ชาวอเมริกัน) ได้คิดค้นกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่ระบบ 110 โวลต์ มีจุดเด่นในเรื่องความปลอดภัยของแรงดันไฟฟ้า แต่มีข้อจำกัดเนื่องจากระบบไฟฟ้ากระแสตรงไม่สามารถส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในระยะทางไกลๆ ซึ่งในเวลานั้น นิโคลา เทสลา ได้คิดค้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยมีการทำงานกระแสไฟฟ้าแบบกระแสสลับ และได้ความถี่ไฟฟ้าที่60 Hz เป็นกระแสที่ดีที่สุดในการผลิตไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และมีระดับแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 240 โวลต์ สามารถทำให้จ่ายไฟไปได้ไกลกว่า โทมัส เอดิสัน
โธมัส เอดิสัน และ นิโคลา เทสลา
แต่ความถี่ที่ 50Hz จะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตลดลงถึง 20% และการจ่ายไฟนั้นลดลงประมาณ 10%-15% และจะทำให้มีขดลวดมีขนาดใหญ่ขึ้น 30% และรวมถึงวัสดุอื่นๆ เช่น โครงสร้าง แกนเหล็ก หม้อแปลง ขนาด และมอเตอร์ มีขนาดใหญ่ขึ้น และสูญเสียทางไฟฟ้าและความร้อน ที่เกิดขึ้นตามไปด้วย แต่ต่างจากความถี่ 60Hz ปัจจุบันมีเพียงไม่กี่ประเทศเช่น แอนติกา,เปรู,ฟิลิปปินส์,เกาหลีใต้ ที่ใช้ตามคำแนะนำของ เทสลา โดยใช้ความถี่ที่60Hz และความดันแรงไฟฟ้าที่ 220-240 โวลต์ แต่เดิม ทวีปยุโรปใช้ระดับแรงดันไฟฟ้าที่ 120v เช่นเดียวกับ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา และได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเห็นว่าช่วยลดความสูญเสียในการกระจ่ายกระแสไฟฟ้าได้น้อยลง และในเวลาเดียวกัน สหรัฐอเมริกา มีความคิดว่าต้องการเปลี่ยนแปลงขนาดแรงดัน แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงแรงดันสูงเพราะรวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ยังใช้แรงดันแบบเก่าอยู่ ทำให้สหรัฐยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
แต่ในปัจจุบันอาคารในอเมริกา จะมีแรงดันไฟฟ้า 240v ด้วย โดยจะแยกหม้อแปลงที่แยกกัน 2 ลูก จ่ายแรงดัน 120v กับ 240v ซึ้งจะขึ้นอยู่กับการจ่ายโหลดด้วย