การคำนวณกระแสลัดวงจร

ในการเลือกใช้ระบบไฟฟ้านั้นนอกจากจะคำนึงถึงกระแสขณะใช้งานตามปกติแล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยขณะที่เกิดลัดวงจรด้วย การลัดวงจรหมายถึงการที่วงจรไฟฟ้าเกิดการผิดพลาดโดยอุบัติเหตุ ทำให้ค่าอิมพีแดนซ์ของวงจรมีค่าลดลง ทำให้กระแสรั่วมากกว่ากระแสปกติหลายเท่า การลัดวงจรทำให้เกิดความเครียดทางกล ( Mechanical Stress ) และความเครียดทางความร้อน ( Thermal Stress ) ขึ้น ซึ้งส่งผลทำให้บริภัณฑ์เสียหายและไม่ปลอดภัยต่อคนได้ ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงต้องนึกถึงผลของกระแสไฟลัดวงจร เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นได้

       การคำนวณค่ากระแสลัดวงจรระบบไฟฟ้า เป็นสิ่งสำคัญของการคิดหรือออกแบบจ่ายกำลังใฟฟ้า ช่างหรือผู้คิดระบบไฟฟ้าจะต้องรู้ค่ากระแสลัดวงจร เพื่อเลือกบริภัณฑ์ที่เหมาะสม ถ้าผู้ออกบริภัณฑ์ที่ทนกระแสลัดวงจรไม่เพียงพอก็อาจจะเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน และชีวิตเมื่อไฟเกิดลัดวงจรขึ้น และถ้าผู้ออกแบบเลือกใช้ขนาดของบริภัณฑ์ใหญ่ป ราคาค่าติดตั้งระบบไฟฟ้าก็จะแพงเกินไปโดยไม่จำเป็น ดังนั้นการคำนวณค่ากระแสลัดวงจรของระบบไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้ออกแบบระบบไฟฟ้าที่ดี

มาตรฐานการคำนวณกระแสลัดวงจร

      กระแสลัดวงจรมีความสำคัญอย่างมากต่อการเลือกใช้บริภัณฑ์ไฟฟ้า

หลายประเทศจึงได้มีข้อกำหนดมาตฐานในการคำนวณกระแสลัดวงจรและเพื่อให้การคำนวณเป็นไปในแนวเดียวกัน ทาง IEC ( Electrotechnical Commission ) จึงได้ร่างมาตรฐานสากลสำหรับการคำนวณกระแสลัดวงจรขึ้น คือ IEC 60909

      มาตรฐาน IEC 60909 ได้แบ่งการคำนวณกระแสลัดวงจรออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. การลัดวงจรไกลจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ( Far-from-generator Short Circuit )

2. การลัดวงจรใกล้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ( Near-to-generator Short Circuit )

        การลัดวงจรไกลจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของแหล่งจ่ายไฟตลอดช่วงเวลาการสัดวงจร และ ค่าอิมพีแดนซ์ของวงจรจะมีค่าคงที่ด้วย

       ส่วนการลัดวงจรใกล้เครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นค่ารีแอกแตนซ์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะมีค่าเพิ่มขึ้น ทำให้กระแสลัดวงจรส่วน A.C. จะค่อยๆ มีค่าลดลง

       สถานประกอบการสวนมากจะรับไฟฟ้าจากระบบจำหน่ายแรงดันสูง แรงดันปานกลาง และแรงดันต่ำของทางการไฟฟ้า ดังที่กล่าวมานี้เป็นระบบที่ถือว่าไกลจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดังนั้นในบทนี้จะกล่าวเฉพาะการลัดวงจรไกลจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

เมื่อเกิดการลัดวงจรไกลจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กระแสลัดวงจรจะเป็นผลของกระแส 2 ส่วนด้วยกัน

ส่วนประกอบ A.C. ซึ่งมีขนาดคงที่ ตลอดระยะเวลาการเกิดลัดวงจร

ส่วนประกอบ D.C. ซึ่งมีค่าสูงสุดค่าหนึ่ง และค่อยๆ มีค่าลดลงจนเป็นศูนย์

นิยามที่สำคัญตาม IEC 60900 มีดังนี้

  1. กระแสลัดวงจรสมมาตรเริ่มตัน ( Initial Symmetrical Short-circuit Current ) หมายถึง ค่า R.M.S. ของ ส่วนประกอบ A.C. ของกระแสลัดวงจรขณะเริ่มลัดวงจร
  2. กระแสลัดวงจรค่ายอด ( Peak Short-circuit Current ) หมายถึง ค่าสูงสุดของ       กระแสลัดวงจร กระแสลัดวงจรค่ายอด จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาแรกๆ ของการเกิดการลัดวงจร
  3. กระแสลัดวงจรอยู่ตัว ( Steady-state Short-circuit Current ) หมายถึง ค่า R.M.S. ของกระแสลัดวงจร ซึ่งยังคงมีอยู่หลังจากการลดลงของภาวะชั่วครู( Transient)
  4. กระแสตัดวงจรแบบสมมาตร ( Symmetrical Short-circuit Breaking Current )  หมายถึง ค่า R.M.S. ของส่วนประกอบ A.C. ของกระแสลัดวงจรขณะที่หน้าสัมผัสขั้วแรกของบริภัณฑ์สวิตชิ่งแยกออก
  5. กำลังลัดวงจรสมมาตรเริ่มต้น ( Initial Symmetrical Short-circuit ( Apparent) Power ) หมายถึง ค่าที่ได้จากผลคูณของกระแสลัดวงจรสมมาตรเริ่มต้น
  6. แรงดันของระบบ ( Nominal System Voltage ) หมายถึง ค่าแรงดันระหว่างสาย ซึ่งระบบได้รับการออกแบบและลักษณะการทำงานได้อ้างอิงถึง

การลัดวงจรของระบบไฟฟ้าอาจแบ่งเป็น 4 ชนิด คือ

  1. การลัดวงจรแบบสามเฟสสมดุล ( Balanced Three-Phase Short Circuit)
  2. การลัดวงจรแบบสายถึงสายไม่ต่อกับดิน (Line to Line Short Circuit Without Earth Connection )
  3. การลัดวงจรแบบสายถึงสายต่อกับดิน ( Line to Line Short Circuit With Earth Connection )
  4. การลัดวงจรแบบสายถึงดิน (Line to Earth Short Circuit )

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *