1.เครื่องใช้ไฟฟ้าไหนที่ไม่ได้ใช้งานก็ควรถอดปลั๊กออก
เนื่องจากภาระโหลดจาก สายนำไฟฟ้า หรือ บางตัวอุปกรณ์พลังงานไฟฟ้าเข้าไปที่ระบบของอุปกรณ์โดยที่ไม่ผ่านสวิท เช่น กาน้ำร้อนบางรุ่นที่เสียบปลั๊กแล้วร้อนเลย ตู้น้ำร้อนเย็น ฯลฯ หากไม่ถอดปลั๊กก็ยังเหมือนใช้งานอยู่ หรือ แม้แต่การเสียบค้างไว้โดยเปิดปิดสวิท ก็ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไปด้วยเช่นกัน
2.ควรเปิดบ้านหรือเปิดหน้าต่างให้โล่งเพื่อให้อากาศได้ถ่ายเท
การเปิดบ้านให้อากาศถ่ายเท จะทำอากาศพาความร้อนออกไปจากตัวบ้าน มีการถ่ายเทของอุณหภูมิที่ไม่เท่ากันในบริเวณ ทำให้อุณหภูมิตัวบ้านลดลง สายไฟ หรือ ระบบสายไฟต่างๆ อุณหภูมิลดลงไปด้วย เนื่องจากตัวระบบสายส่งกำลังจะต้องเดินไปกับตัวบ้าน หรือ ใต้ฝ้า เพดาน ผนัง ..เมื่อตัวนำในระบบกำลังอุณหภูมิลด ก็มีผลทำให้สภาพต้านทานลดลงไปด้วย กำลังที่ตกคร่อมสภาพต้านทานหรือ อิมพรีแด้นซ์ มันลด ค่าไฟก็ลดลง ..ตัวอย่าง เช่น ในโรงงาน หรือ อาคารขนาดใหญ่ต่างๆ การออกแบบ ระบบเครื่องกล ปรับอากาศ และ ไฟฟ้า โยธา สถาปัต ต่างๆ ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ เพื่อเปนการลดพลังงาน หรือ ค่าไฟฟ้าไปด้วยในตัว
3.เปิดพัดลมแทนเครื่องปรับอากาศ
การเปิดพัดลมนั้น ย่อมกินไฟน้อยกว่า เครื่องปรับอากาศอย่างแน่นอน เนื่องจากมอเตอร์พัดลมตัวเล็ก กินไฟน้อยกว่า คอมเพลสเซอร์แอร์ที่ดูดอัด และ มีภาระโหลดจากน้ำยาแอร์ และ ภาระของระบบความเย็น ..การเปิดพัดลม แล้ว สามารถทดแทนกันได้ จึงประหยัดกว่า ..แต่กรณีที่ จะต้องเปิดแอร์ ก็ ควรจะติดตั้งพัดลมในห้องไว้ด้วย เพื่อที่จะกระจายความเย็นได้ทั่วห้อง ก็จะทำให้ลดค่าไฟลงได้ด้วย
4.เลือกใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับอากาศ
การใส่เสื้อผ้าหนา ไม่ระบาย ย่อมไม่ดีเท่าใส่บางๆ อากาศระบาย เช่น ใส่กางเกง เสื้อแขนยาว ย่อมร้อนกว่า เสื้อแขนสั้น ขาสั้น ..เมื่อเราใส่เสื้อผ้าที่ร้อนมาก ก็มีความต้องการที่จะใช้เครื่องปรับอากาศมากกว่า ก็ เปลืองไฟ
5.ตั้งเวลาเปิดปิดเครื่องปรับอากาศล่วงหน้า
การตั้งเวลาเปิดปิดเครื่องปรับอากาศ มีผลต่อค่าไฟแน่นอน เช่น เวลานอน ก็ให้ช่วงเวลาเปิดแอร์ถึงราวๆ ตี4 ตี5 เนื่องจาก ช่วงตอนเช้า อากาศเย็น อาจจะไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์ ..ก็เปนตัวอย่างที่ดีในการประหยัดค่าไฟ
6.เปลี่ยนจากซักผ้าครั้งละมาก ๆ เปลี่ยนมาซักผ้าสองสัปดาห์ครั้ง
การปั่นซัก ครั้งละมากๆ จะต้องตั้งเวลาซักนาน และ ภาระโหลดของเครื่องปั่น ต้องใช้กำลังมากกว่าปกติ ทำให้สูญเสียพลังงานไฟฟ้ามากกว่า การซักบ่อยครั้งแต่ใช้เวลาน้อยลง ซึ่งถ้ามองในแง่ของ การประหยัดค่าไฟแล้ว ควรจะแบ่งซักจะดีกว่า ..แต่ถ้ามองว่า ไม่ประหยัดน้ำ หรือ การจัดการ แล้วนั้น การซักล้างครั้งเดียวอาจจะเหมาะกว่า นะครับ
ด้วยรัก และ ห่วงใย “ช่างไฟดอทคอม”