1. เขย่าก่อนซื้อ
การเขย่า เป็นการสำรวจสภาพการประกอบจากโรงงานเบื้องต้น หากมีเสียง ก๊อกแก๊ก.. หรือ มีเสียงกระทบภายใน แสดงว่ามีการหลุดหลวมวัสดุ หรือ ประกอบมาไม่ดีเท่าไรนัก.. การเขย่าเสียงต้องดูว่า มันไม่มีเสียงอะไร ค่อนข้างแน่นหนา ไม่หลุดหลวม
2. ดูสายไฟค่าขนาดสายที่ปลอดภัย
สายขนาด 0.5 sqmm. จะใช้ได้กับกระแสสูงสุดราว 5 amp หรือ ราว 1,000วัตต์ AC
สายขนาด 1.0 sqmm. จะใช้ได้กับเครื่องไฟฟ้าสูงสุด ไม่เกิน 2,000 วัตต์ หรือ ราวๆ สัก 10แอมป์ (โดยประมาณ)
3. เต้าเสียบ หรือ หัวปลั๊ก
เต้าเสียบหัวปลั๊ก จะมีtype หรือประเภทการใช้งาน ว่าเข้ากับเต้ารับแบบไหน สำหรับมาตรฐานในบางประเทศ อาจจะเข้ากันไม่ได้เลยกับของอีกบางประเทศ
4. เต้ารับ
เต้ารับก็จะมี ไทป์หรือประเภทเช่นเดียวกับเต้าเสียบ ต้องพิจารณาในการใช้งานกับเต้ารับ อีกประการคือ ตัวเต้ารับ จะมีตัวอักษรแสดงรายละเอียดของทางเข้าออกสาย เช่น L N G มีรายละเอียดสัญลักษณ์ บอก.. บอกขนาดกระแสที่รองรับได้ ชนิดกระแส หรือ สัญลักษณะอื่นๆ ซึ่ง.. มันแสดงถึงคุณภาพ และ เกรดของสินค้า
5. รางปลั๊กพ่วง
รางปลั๊กพ่วง จะต้องมีความแน่นหนา เขย่าไม่มีเสียง.. ดังข้างต้น.. นอกจากนี้รางปลั๊กพ่วงทั่วไป ควรจะมี ฟิวส์ มีสวิทคุมปลั๊ก มีไฟแสดง NO-OFF หรือ 0-1
6. ระบบไฟ
สำหรับปลั๊กนั้น โดยมากแล้ว จะเป็นการใช้งานกับ กระแส AC ไฟบ้าน ทนแรงดันราว 220-240V 1เฟส
7. มีสายดิน
ปลั๊กพ่วงที่ดี ควรจะมี รูกราวน์ G หรือ รูเสียบสำหรับขาสายดิน และ การที่จะมีระบบดินเชื่อมต่อถึงปลั๊กได้จริง ระบบปลั๊กบ้าน อาคาร ที่เราต่อพ่วงก็ต้องมีระบบลงดินจริงๆ ที่สมบูรณ์ด้วย.. มันจะทำให้มีความปรอดภัยมากขึ้น ..สำหรับปลั๊กพ่วงบางรุ่น อาจจะไม่มีขากราวน์ แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่า มันใช้งานไม่ได้.. มันสามารถใช้งานได้ แต่ความปรอดภัยอาจจะไม่เท่ากับที่มีขากราวน์
อนึ่ง การเลือกปลั๊กพ่วงนั้น นอกจากจะต้องสำรวจสภาพภายนอกแล้ว ยังต้องพิจารณา ยี่ห้อ มอก. ขนาดทนกระแสใช้งาน และ ราคา ประกอบกันไปด้วย..
ด้วยความห่วงใย
#ช่างไฟดอทคอม