ข้อควรระวังในการช่วยผู้ถูกไฟดูด

ไฟดูดจ้า

1. อย่าเอามือไปสัมผัสผู้ถูกไฟดูดโดยตรง
ในเบื้องแรก ในการดึงผู้ที่ถูกไฟดูดออกจากจุดเกิดเหตุจะต้องเรื่องการจับ สัมผัสตัวโดยตรง เนื่องจาก ผู้ที่ถูกไฟดูดอยู่ยังเป็นสื่อนำกระแส ก็จะทำให้เป็นอันตรายกับผู้ที่เข้าช่วยเหลือ ดังนั้นจึงควรใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้เปนสื่อนำไฟฟ้า เขี่ย ดัน เกี่ยว ดึง ผู้ประสบเหตุให้เครื่องออกจากจุดเกิดเหตุ.. สังเกตว่ากระแสไฟฟ้านั้นมาจากไหน หรือ มีจุดที่เปียกชื้นหรือไม่ หรือ มีสื่อนำไฟฟ้า โลหะ วัตถุนำกระแสต่างๆ ทำการดันดึงผู้สบเหตุให้ห่างจากจุดข้างต้นโดยไม้ หรือ วัสดุไม่เปนสื่อนำไฟฟ้า ให้ห่างมากที่สุด

2. รีบหาทางตัดกระแสไฟฟ้าโดยเร็ว
ให้สังเกตว่า มีจุดที่ตัดกระแสได้ไวที่สุด ไม่ว่าจะอุปกรณ์ตัดต่อ เบรกเกอร์ หรือ คัทเอาท์ หรือ เขี่ยสายไฟที่เป็นสื่อนำให้ห่างออกไป อย่างระมัดระวัง ดังตัวอย่างข้อที่1

3. หากมีน้ำขัง ห้ามเข้าไปสัมผัสน้ำบริเวณนั้น
ปกติแล้ว น้ำบริสุทธิ์ไม่ได้เปนสื่อนำไฟฟ้า.. แต่ น้ำโดยทั่วไป ไม่ใช่น้ำบริสุทธิ์ ..ย่อมมีสภาพเป็นสารละลายอยู่ตามธรรมชาติ ดังนั้น น้ำ.. จะเป็นสื่อนำไฟฟ้า ..ผู้เช้าช่วยเหลือจึงต้องพิจารณาจุดยืน หรือ จุดสัมผัสต่างๆ จะต้องไม่เปียกชุ่ม หรือ เปียกชื้น.. อันจะทำให้ผู้เข้าช่วยเหลือมีความเสี่ยงในการถูกไฟดูดได้เช่นกัน

4. ใช้วัสดุที่เป็นฉนวน เช่น พลาสติก ท่อpvc ผ้าแห้ง กระดาษหนา ไม้แห้ง.. ถ้าไม้ชื้น หรือ วัสดุที่ชื้น… ห้ามนำมาใช้เปนอุปกรณ์ช่วยเหลือ โดยเด็ดขาด วัสดุช่วยเหลือ ห้ามเปนสื่อนำ หรือ ห้ามเป็นโลหะ.. และ ห้ามเปียก ห้ามชื้น โดยเด็ดขาด

5. สวมถุงมือยางหรือพันมือด้วยผ้าแห้งหนาๆ เพื่อกันกระแสไฟ หรือ เป็นฉนวน.. ใช้ในการดึงดัน จับยก ผู้ประสบเหตุ หลังจากที่ท่าน ปฎิบัติตามข้อ 1-4 แล้ว..

การช่วยเหลือ ผู้ประสบเหตุ ท่านต้องมีสติ เปนที่สุด ไม่ตกใจ.. และ ต้องคิดให้รอบคอบ เนื่องจาก กระแสไฟฟ้า เปนสิ่งที่มองไม่เห็น ..การช่วยเหลือ จึงต้องคิดให้รอบคอบ และ กระทำไปตามขั้นตอนวิธี จึงจะมีความปรอดภัย ทั้งผู้ประสบเหตุ และ ผู้ช่วยเหลือ

ด้วยรักและห่วงใย ..ช่างไฟดอทคอม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *